scoops
การเพาะพันธุ์
การจำแนกเพศปลา
การจำแนกเพศปลา
เรื่อง/ภาพ www.arohouse.com E-mail: e20ngx@gmail.com
เรื่องลึก(แต่ไม่ลับ)ของเพศปลาอโรวาน่า
เรื่องนี้อยู่ในความสนใจของคนเลี้ยงปลาอโรวาน่า (Asian Bonytongue) ไม่น้อยเลยทีเดียวเลย นั่นเป็นเพราะปลาชนิดนี้มีราคาที่ค่อนข้างสูง และผสมพันธ์ได้ยาก เนื่องจากปลาเลือกคู่เอง ต่างกับปลาชนิดอื่นๆ การวิจัยในเรื่องนี้ ต้องอาศัยทั้งเงินทุนและผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางจริงๆ ดังนั้นในฟาร์มปลาต่างๆ ส่วนใหญ่จะเป็นเรื่องของการเพาะเลี้ยง เรื่องของความสวยงาม แต่องค์ความรู้ด้านเพศปลาอโรวาน่า มีน้อยจึงเป็นเรื่องภายในมากกว่าที่จะเปิดเผยออกมาสู่สาธารณชน
แน่นอนว่า การดูด้วยตาเปล่าของผู้เชี่ยวชาญจริงๆ ก็ยังไม่สามารถระบุได้ 100 เปอร์เซ็นต์ว่า ตัวใดเพศผู้เพศเมีย วิธีการที่รับรองผลได้ 100 เปอร์เซ็นต์ ก็คือการตรวจ DNA ของปลานั่นเอง ซึ่งการตรวจแบบนี้ มีรายละเอียดมาก ค่าใช้จ่ายสูง จึงไม่เป็นที่นิยมทั่วไป ข้อมูลจาก website เมืองนอก บอกว่า ลักษณะเพศปลาสีทองจะเด่นชัด ก็เมื่ออายุ 3 ปี ขึ้นไป ในปลาแดง อายุปลา 4 ปี ขึ้นไป

โดยทั่วไปการดูเพศอโร มีหลายตำราด้วยกันครับ มีทั้งที่แบบการคำนวณเป็นหลักคณิตศาสตร์เลยทีเดียว อย่างเช่นซึ่งต้องอาศัยการดูหลายอย่างเข้ามาร่วมด้วย เราสามารถจะเห็นลักษณะของเพศได้ชัดเจน เมื่อปลาอายุ 5 ปีขึ้นไป http://www.qianhu.com/default.asp?id=63&mnu=63

ในปลาอโรวาน่าเพศผู้ครีบหูหนาใหญ่โค้งงุ้ม และยาวจรดฐานครีบท้อง ส่วนปลาเพศเมียครีบหูบางสั้น ระยะห่างจากปลายครีบหูถึงฐานครีบท้องจึงกว้างกว่าปลาเพศผู้ นอกจากนี้ยังพบว่าปลาเพศเมียมีส่วนกว้างของลำตัวมากกว่าปลาเพศผู้ ข้อมูลจากhttp://www.nicaonline.com/

ลักษณะปากและกรามของปลาอโรวาน่าตัวผู้จะดูใหญ่กว่า ยาวกว่า ปากปลาอโรวาน่าตัวเมีย เพราะต้องใช้อมไข่และเลี้ยงลูกในปากปลา อีกทั้งมีความแข็งแรงมากกว่า ข้อมูลจากhttp://arofanatics.com/
ปลาอโรวาน่าตัวผู้ส่วนใหญ่บริเวณคางมักจะมีสีดำแซม ปลาตัวเมียไม่มีสี ข้อมูลจากสุวิชอโรวาน่าเฮาส์
บริเวณเหงือกปลา (Gill Cover)
แผ่นปิดเหงือกของปลาอโรวาน่า หรือที่เราเรียกว่าแก้มปลานั้น ร่องบนแก้มจะมีตัวอักษรคล้ายตัว A ซึ่งเป็นลักษณะทางกายภาพปกติ

ตัวผู้มีรอยลึกคล้ายกับตัวอักษรภาษาอังกฤษตัว A ซึ่งจะมีความกว้างของตัวอักษรมากกว่าตัวเมีย บางตัวฐานของตัว A กว้างจนคล้ายตัว U คว่ำ
ตัวเมียร่องรอยลึกตัวอักษร A แคบเบียดกันมากกว่าตัวผู้ และบางครั้งร่องที่ปรากฏบนแก้มปลานั้นติดกันเป็นไม่ตัวอักษร
ลำตัว (Body)
รูปทรงของปลาอโรวาน่านั้น นับได้ว่าเป็นวิธีที่ใช้กันมากกว่าวิธีอื่น ผู้ชำนาญเรื่องอโรวาน่าที่เก่งมัก จะบอกได้ว่าเป็นปลาเพศใด โดยสังเกตจากรูปทรงปลา

ปลาตัวผู้ ส่วนใหญ่มี ลักษณะยาวครีบเครื่องใหญ่ ลำตัวหนา
ปลาตัวเมีย ส่วนใหญ่มีลักษณะกว้าง ครีบเครื่องสั้น ลำตัวสั้น
จากการสัมมานา Dragon Fish Seminar AQUARAMA 2009 วิทยากร จากฟาร์ม Qian Wu Dr Chang.ได้นำเอารูปปลาอโรวาน่า 2 ตัวและให้ผู้เข้าร่วมประชุมได้ลองทายเพศปลาดู เพื่อนๆลองทายดูสนุกๆนะครับ ติดตามเฉลยไว้ในตอนท้ายของบทความนี้
ครีบอก (Pectoral Fin)
จากประสบการณ์การเลี้ยงปลาอโรวาน่าหลายปี ผมเฝ้าสังเกตปลาเพศผู้และเพศเมียหลายต่อหลายคู่ สิ่งหนึ่งที่ผมให้ความสนใจมากก็คือเรื่องของครีบเครื่อง ขนาดของครีบอก รูปทรง นั้น แทบทุกคู่ตรงกับเพศของปลาทีเดียว
ปลาตัวผู้ มีลักษณะมองจากด้านบนเหมือนคันธนูที่ยังไม่ได้ง้างคือที่มุมที่กว้าง แนวโค้งไม่มาก ครีบยาวใหญ่ กว้างปลายครีบเหยียดไปด้านข้าง
ปลาตัวเมีย มีลักษณะมองจากด้านบนเหมือนคันธนูที่ขึ้นลูกศรแล้ว คือโค้งแทบจะครึ่งวงกลม ครีบอกสั้นแคบ ปลายครีบเหยียดค่อนไปด้านหลัง

ครีบกระโดงหลัง (Dorsal Fin)
สิ่งหนึ่งที่ใช้เป็นจุดสังเกตก็คือครีบกระโดงหลัง ซึ่งสามารถดูได้ง่ายจากหน้าตู้ได้
ปลาตัวเมีย ครีบหลังจะแคบสั้นและโค้งมน
ปลาตัวผู้ ฐานครีบหลังจะกว้าง ก้านครีบจะสูง และส่วนปลายครีบที่ใกล้กับช่วงหางจะโค้งแหลม

สี ( Color)
ปลาตัวผู้มีลักษณะมองจากสีของเกล็ด เข้ม
ปลาตัวเมียมีลักษณะมองจากสีของเกล็ด จางกว่าตัวผู้
รูปหัว (Head)
รูปของหัวปลาอโรวาน่าก็เป็นอีกส่วนหนึ่งที่เราดูใช้ประกอบความเป็นได้ในการระบุเพศ
ปลาตัวผู้ มีลักษณะมองจากด้านบนแนวรูปปลายปากโค้งมนรับกับส่วนหัว กรามใหญ่
ปลาตัวเมีย มีลักษณะมองจากด้านบนแนวรูปปากทู่แหลมปลายตัดกับส่วนหัว กรามเล็ก

ช่องทวาร (Anus)
ปลาตัวผู้ ลักษณะเรียวยาวคล้ายเมล็ดข้าวสาร
ปลาตัวเมีย ลักษณะกลมคล้ายถั่ว
ซึ่ง ทุกข้อที่กล่าวมา ลักษณะของปลาอาจมีลักษณะเด่นทั้งเพศผู้และเพศเมียในตัวเดียวกัน เพราะฉะนั้น ต้องพิจารณาข้อมูลส่วนใหญ่ครับว่า ลักษณะเด่นแบบใดที่ชัดเจนมากที่สุด ทั้งหมดเป็นเพียงข้อสังเกตจากประสบการณ์การเลี้ยงและข้อแนะนำของผู้เลี้ยงชั้นนำ ไม่สามารถชี้ชัดได้ 100 เปอร์เซ็นต์ครับ
เฉลยคำตอบจากคำถามในบทความหัวข้อเรื่องลำตัว รูปบนปลาตัวผู้ รูปล่างปลาตัวเมีย ทายกันถูกไหมครับ ^_^
กระทู้นี้จากการสัมมนาที่ Aquarama SG
http://www.arohouse.com/wbs/index.php?action=view&id=000000671
ง้างปากปลาที่ Aquarama SG
http://www.arohouse.com/article/?action=view&catID=0000139&pid=0000408
ตัวอย่างตู้อนุบาล
http://www.arohouse.com/article/?action=view&catID=0000122&pid=0000402
http://www.pantown.com/board.php?id=22455&area=4&name=board2&topic=42&action=view
http://www.pantown.com/board.php?id=22455&area=4&name=board2&topic=32&action=view