scoops
ตู้ปลา ปั๊มน้ำ อุปกรณ์การเลี้ยง
อุปกรณ์ที่จำเป็นในการเลี้ยงดู
อุปกรณ์ที่จำเป็นในการเลี้ยงดู
1.น้ำ
น้ำเป็นสิ่งสำคัญที่สุดครับในการเลี้ยงปลาครับ หากเราไม่สามารถเตรียมการในเรื่องนี้ได้ดีแล้ว เรื่องอื่นๆนั้นก็ถึงแม้ทำได้ดี ก็ไม่สามารถที่จะเลี้ยงปลาให้สมบูรณ์แข็งแรงได้ครับโดยธรรมชาตินั้นปลามังกรนั้นมีความแข็งแรงมากกว่าปลาชนิดอื่นมาก มีความอดทนสูง และไม่ค่อยเจ็บป่วยได้ง่ายครับ แม้ค่าน้ำที่เปลี่ยนแปลงไปบ้างเล็กน้อยปลามังกรก็จะสามารถปรับตัวได้ไม่มีปัญหา การเตรียมน้ำที่ดีหมายถึงเราควรพักน้ำอย่างน้อย 1-2 วันในภาชนะที่เตรียมไว้ครับ ควรมีแท๊งน้ำสำรองไว้ให้กับปลา หรืออาจใช้แท็งก์น้ำร่วมกับระบบน้ำในบ้านได้ หากไม่มีระบบดังกล่าวจึงควรที่จะมีเครื่องกรองคลอรีนไว้ เพราะปลามังกรและสัตว์น้ำทั่วไปไวต่อคลอรีนในน้ำมากโดยทั่วไปแล้วน้ำประปาจะมีคลอรีนในน้ำ 1-2 มิลลิกรัมต่อน้ำ 1 ลิตร แต่ถ้าน้ำมีปริมาณคลอรีนที่อยู่ในน้ำมากกว่า 4 มิลลิกรัมต่อน้ำ 1 ลิตร จะเกิดอันตรายกับปลา การใช้น้ำประปาผ่านเครื่องกรองคลอรีนที่มีคุณภาพแล้ว จะสามารถทำให้ผู้เลี้ยงมั่นใจในคุณภาพน้ำเบื้องต้นได้ ในการตั้งตู้ใหม่นั้นผู้เลี้ยงควรทราบค่า pH น้ำประปาและค่าน้ำพื้นฐานที่ผ่านกรองหรือน้ำที่พักไว้ เพื่อเป็นข้อมูลอ้างอิงในการรักษาปลาป่วยด้วยครับ
2.ตู้เลี้ยงปลา
ดังที่ทราบนะครับ ปลามังกรเป็นปลาที่มีอัตราการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วใน 1 ปีแรก ซึ่งสามารถโตได้เฉลี่ยเดือนละ 1-2 นิ้วทีเดียวหากได้รับการเอาใจใส่ที่ดี และด้วยพฤติกรรมที่กินอาหารรุนแรงดุเดือดแล้ว ตู้เลี้ยงปลาจะควรมีคุณภาพมั่นคงแข็งแรงตามไปด้วย อย่าไปเสียดายเงินค่าตู้ครับ หากตู้ที่เลี้ยงไม่ปลอดภัยแล้ว ลองนึกภาพว่าหากบ้านไหน ครอบครัวไหนมีเด็กเล็กที่กำลังซนอยู่แล้ว การมีตู้ปลาที่ไม่ปลอดภัยในบ้าน จะทำให้เราวิตกกังวลเพียงใด แน่นอนครับเหตุมันไม่ได้เกิดขึ้นง่ายๆ แต่เมื่อใดที่เกิดอุบัติเหตุขึ้นย่อมทำให้เกิดการสูญเสียไม่มากก็น้อย ดังนั้นการพิจารณาเลือกตู้ปลาผมเน้นเลยครับ ความปลอดภัยต้องมาก่อนอย่างอื่น อีกประการการเลือกซื้อตู้ขนาดใหญ่ในคราวแรกนั้น ระยะยาวเราสามารถประหยัดค่าตู้โดยไม่ต้องซื้อเพิ่มได้ครับ คราวนี้มาดูครับว่าตู้ขนาดไหนเหมาะสมกับการเลี้ยงปลามังกรสายพันธ์เอเชีย คงต้องเรียนว่าตู้ขนาดใหญ่มากเท่าใดยิ่งดีครับ อย่างน้อยก็ควรได้ตู้ขนาดยาว60นิ้วxกว้าง24นิ้วxสูง24นิ้ว (ปกติเราเรียกขนาดความยาวตู้เป็นนิ้วครับ ความยาวxความกว้างxความสูง) ความหนาของกระจกอย่างน้อย 3 หุนขึ้นไป หากความยาวของตู้เกิน60นิ้ว(ไม่เกิน 120 นิ้ว) ความกว้างเกิน24นิ้ว(ไม่เกิน 36 นิ้ว) ความสูงเกิน24นิ้ว (ไม่เกิน 36 นิ้ว) ความหนาของกระจกควรจะเป็น 4 หุนครับ (1นิ้ว = 8 หุน) หลายท่านมักมีข้อสงสัยว่าหากเป็นเช่นนั้นแล้วตู้ขนาดทั่วไปเช่น 60X20x20 48x20x20 หรือ 36x20x20สามารถเลี้ยงได้หรือไม่ เลี้ยงได้ครับ แต่เมื่อปลามีขนาดใหญ่มากขึ้น จะทำให้ปลารู้สึกเครียดเมื่ออยู่ตู้ปลาที่แคบ สรุปคือสามารถเลี้ยงได้ในช่วงเวลาหนึ่งเท่านั้น ผู้เลี้ยงควรพิจารณาตู้ขนาดใหญ่ทีเดียวจบเลยและต้องคำนึงถึงความปลอดภัยเป็นหลักด้วยครับ
-ฝาตู้ ฝาตู้อาคีลิก เหมาะสำหรับตู้ที่ต้องการป้องกันวัสดุหรือบริเวณที่มีฝุ่นมาก ลงในตู้รวมถึงป้องกันลมที่จะพัดลงในตู้ได้ดี ข้อเสียคือ หากตู้ตั้งในห้องที่ไม่ค่อยสามารถระบายอากาศได้ดีแล้วมักจะสะสมความชื้นทำให้เกิดเชื้อราได้ง่าย
-ฝาตู้แบบโปร่ง หรือ ฝาตะแกรง เหมาะสำหรับตู้ที่ต้องการระบายอากาศได้ดี ไม่มีปัญหาเรื่องความชื้นสะดวกต่อการเคลื่อนย้าย ข้อเสียคือควบคุมอุณหภูมิไม่ดี ไม่สามารถป้องกันฝุ่นหรือเศษวัสดุลงในตู้ได้
-ระบบไฟ ในฝาตู้นั้นมักจะติดตั้งชุดโคมไฟพร้อมเดินสายไฟสวิทช์เปิด-ปิดเรียบร้อยแล้ว ผู้ซื้อสามารถใช้ชนิดหลอดไฟที่ต้องการติดตั้งได้เองสะดวกปลอดภัย ในฝาตู้แบบโปร่ง หรือ ฝาตะแกรง นั้นหากไม่มีที่ติดตั้งให้มาด้วยแล้ว เราสามารถหาซื้อชุดโคมไฟวางบนฝาได้เช่นกันครับโดยอาจทำขาไฟรับบนฝาตะแกรงได้
3.ระบบกรองตู้ปลาชนิดต่างๆศึกษาเรื่องระบบกรองและกรองชนิดต่างๆในเรื่องกรอง คุณ TTDC ครับ
4.ฮีตเตอร์ (Heater)
อุปกรณ์ควบคุมอุณหภูมิในตู้ปลาชนิดให้ความร้อน ประโยชน์ของอุปกรณ์ Heater นี้คือให้ควบคุมให้ความร้อนแก่น้ำในตู้ครับ มีหลายแบบหลายลักษณะขึ้นอยู่กับการใช้งานต่างๆ ส่วนใหญ่แล้วมักมีลักษณะแบบแท่งทั้งแบบแก้วและโลหะ ใช้จุ่มลงในน้ำทั้งแท่ง ควบคุมความร้อนด้วยการปรับเลือกระดับอุณหภูมิที่ต้องการ ในบ้านเรานั้นมีหลายขนาดให้เลือกครับ ตั้งแต่ 200 Watt จนถึง 3000 watt ขึ้นอยู่กับปริมาตรของน้ำในตู้หรือบ่อ ตัวอย่างการคำนวณง่ายๆครับตู้ขนาด 200 ลิตร ควรใช้ Heater ขนาด 200 watt (1 ลิตร ต่อ 1 watt) ข้อควรระวัง Heater ที่ใช้อยู่ในปัจจุบันนั้น เราไม่สามารถมั่นใจเรื่องอุณหภูมิใช้งานได้เลยครับ แม้กระทั่ง Heater ที่มีราคาแพง ยี่ห้อและรุ่นเดียวกัน นำมาทดสอบในตู้เลี้ยงปลาเดียวกันยังทำงานไม่เท่ากัน ให้อุณหภูมิที่ต่างกัน
ฉะนั้นแล้วผู้เลี้ยงจึงควรใช้เทอร์มิเตอร์แบบแท่งแก้วตรวจสอบวัดอุณหภูมิที่แท้จริง และปรับแต่งอุณหภูมิของ Heater ตามค่าของ เทอร์โมมิเตอร์ เป็นหลักครับ สำหรับในบ่อซีเมนต์ขนาดใหญ่ ในหน้าหนาวนั้นไม่ค่อยจะเป็นปัญหามากนักครับ เพราะด้วยปริมาตรน้ำจำนวนมากการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิของน้ำจะค่อยไปค่อยไปไม่เปลี่ยนแบบฉับพลัน สำหรับการช่วยป้องกันหรือการควบคุมอุณหภูมินั้น เน้นเรื่องของลมครับ หากลมไม่ได้ปะทะกับผนังบ่อหรือผิวน้ำโดยตรงก็จะช่วยเรื่องของอุณหภูมิบ้างครับ
5.ปั๊มน้ำ (Water Pump)
การเลือกซื้อปั๊มน้ำนั้นไม่ได้ตายตัวครับ ขึ้นอยู่กับการใช้งาน ลักษณะการติดตั้งเป็นต้นครับ ผมมีแนวทางง่ายๆในการเลือกซื้อเพื่อให้เข้ากับตู้ปลาที่ท่านเลี้ยงครับ ก่อนอื่นเราต้องทราบปริมาณน้ำในตู้ หากท่านใดไม่แน่ใจก็ลองคำนวณในหัวข้อการคำนวณในเวปนี้นะครับ เมื่อได้ปริมาณน้ำของตู้แล้ว ปั๊มที่เหมาะสมควรมีการไหลเวียนของน้ำอย่างน้อย 2-4 เท่าของปริมาณน้ำทั้งหมดครับ ด้วยปริมาณน้ำไม่มากของเสียต่างๆจึงจำเป็นต้องได้รับการบำบัดอย่างรวดเร็ว ตัวอย่างเช่นตู้ปลาขนาดความจุ 1000 ลิตร เราควรเลือกซื้อปั๊มน้ำที่มีแรงดัน ในช่วง 2,000-4,000 ลิตรต่อชั่วโมง ในต่างประเทศเคยมีผู้ศึกษาวิจัยพบว่าการบำบัดน้ำในตู้ปลาจำนวนรอบที่น้ำผ่านกรอง 2-4 รอบต่อชั่วโมงนี้ถือได้ว่ามีประสิทธิภาพเหมาะสมมากที่สุดในการบำบัดน้ำครับ ส่วนกรณีที่ทำบ่อน้ำเลี้ยงปลานั้น จำนวนรอบอาจไม่ถึงขนาดที่ 2-4 รอบต่อชั่วโมงแบบเลี้ยงในตู้เพราะระบบของบ่อน้ำนั้นจะมีปริมาณน้ำมากกว่าตู้ปลาหลายเท่าตัว ของเสียและการเปลี่ยนแปลงค่าของน้ำจะเปลี่ยนแปลงได้น้อยกว่าในตู้ปลา อัตราที่เหมาะสมสำหรับบ่อเลี้ยงคือ 15-18 รอบต่อวัน ขึ้นอยู่กับความหนาแน่นของปลาและของเสียครับ การเลือกปั๊มน้ำของตู้ปลา ต้องเผื่อความสูงของท่อด้วยนะครับ เพราะแรงดันของน้ำในแต่ละความสูงไม่เท่ากัน รวมถึงเผื่อการสูญเสียแรงดันน้ำในระบบเช่นต่อผ่านข้องอ 90 องศา ท่อมีขนาดเล็ก
ตัวอย่างเช่น ปั๊ม 5000L/hr Head max = 3 m. กรองล่างอยู่ต่ำกว่าตู้บน 1.5 m ถ้าไม่คิดแรงดันสูญเสียในท่อ น้ำที่ส่งขึ้นมาได้แค่ 2500-3000 L/hr (ขึ้นอยู่กับการออกแบบใบพัด) มันสูญเสียกว่า 40% ด้วยซ้ำ
ตรงจุดนี้ผมแนะนำให้คำนวณเผื่อแรงดันที่สูญเสียอีกประมาณ 10 เปอร์เซ็นต์ครับ (สำหรับปั๊มที่ไม่ได้ใช้แรงดันในความสูงมากนัก ยกเว้นกรองล่างที่สูญเสียแรงดันค่อนข้างมาก ) อีกทั้งควรใช้ขนาดของท่อตามที่คู่มือระบุไว้ก็จะช่วยเรื่องของการสูญเสียแรงดันได้เช่นกัน ปั๊มน้ำที่กินไฟน้อยแต่ให้แรงดันน้ำที่สูงมีราคาแพง คุ้มค่ากับการลงทุนครับ จะคืนทุนได้ไม่นาน ส่วนปั๊มน้ำที่กินไฟมากแรงดันเท่ากันมักราคาถูก ระยะยาวดูเหมือนจะไม่คุ้มค่ากับการลงทุนครับ จุดนี้ควรนำมาพิจารณาด้วยเช่นกัน ดูเปรียบเทียบค่าไฟของปั๊มในสูตรการคำนวณครับ
ท่านสามารถศึกษาเพิ่มเติมได้ที่ เลือกปั๊มให้เหมาะสมกับตู้ปลา และการวัดแรงดันน้ำ BY BUTAS
http://www.arohouse.com/article/?action=view&catID=0000125&pid=0000377
http://www.arohouse.com/article/?action=view&catID=0000125&pid=0000376
6.การเปลี่ยนน้ำ และระบบ Overflow ระบบเติมน้ำและล้นออกกึ่งอัตโนมัติ
เมื่อเริ่มปลามังกรนั้นผมมีจำนวนตู้ไม่มากครับ 2 -3 ตู้เท่านั้นที่เหลือก็พวกตู้เลี้ยงปลาทั่วไป วิธีการเปลี่ยนน้ำก็ใช้วิธีเอาสายยางดูดเอาน้ำในตู้ออกและเติมน้ำจากถังที่พักไว้เท่านั้นเป็นอันจบ ระยะหลังเนื่องจากตู้ปลาที่เลี้ยงงอกเพิ่มมากขึ้น การเปลี่ยนน้ำทีละหลายๆตู้ดูจะเป็นงานหนักไม่น้อยทีเดียวสำหรับคนมีครอบครัวแล้วอย่างผม เฉพาะการเปลี่ยนน้ำผมต้องใช้เวลาไม่ต่ำกว่าในแต่ละอาทิตย์ 3 ชั่วโมงไม่รวมการเปลี่ยนใยแก้วและล้างกรองในบางตู้ จากการคำนวณใช้เวลาอาทิตย์ละ 3 ชั่วโมง เดือนละ 4 ครั้ง 12 ชั่วโมง ปีละ 144 ชั่วโมง หรือ 6 วันเป็นอย่างน้อย ดูแล้วน่าจะเอาเวลาส่วนนี้ไปบริหารจัดการอย่างอื่นเสียดีกว่า การเปลี่ยนระบบ Overflow เป็นทางออกที่ดีสำหรับผมและคนที่ขี้เกียจเปลี่ยนน้ำครับ หลักการง่ายๆของระบบ Overflow ก็คือระบบเติมน้ำจำนวนน้อยๆลงในตู้หรือบ่อตามอัตราส่วนที่เราต้องการเปลี่ยนและมีช่องทางน้ำล้นออกจากตู้หรือบ่อนั่นเองครับ มีการเติมน้ำหยดลงในระบบหรือในตู้เรื่อยๆโดยคำนวณน้ำที่ต้องเปลี่ยนต่อสัปดาห์จนมาเป็นการหยดน้ำต่อนาที (ดูการคำนวณการหยดน้ำ Over flow ได้ที่หัวข้อการคำนวณ) ส่วนใหญ่ท่านที่ซื้อตู้ใหม่และมีจำนวนตู้ค่อนข้างมากผมแนะนำให้ท่านใช้ระบบดังกล่าวครับเพราะประหยัดเวลาแรงงานได้มาก โดยสามารถให้ทางร้านติดตั้งระบบนี้ หรือท่อน้ำล้นออกได้ทันที สำหรับท่านที่มีตู้เก่าไม่ได้ติดตั้งระบบนี้ไว้ หรือไม่ได้ทำท่อน้ำออกนั้น สามารถดัดแปลงตู้เดิมให้ใช้งานได้ครับ
ระบบ Overflow ในตู้ที่ไม่ได้เจาะท่อน้ำล้น
http://arowanacafe.com/webboard/view.php?id=4180 Credit คุณSan
http://www.pantown.com/board.php?id=2888&area=4&name=board6&topic=32&action=view
http://www.pantown.com/board.php?id=173&area=1&name=board4&topic=242&action=view Credit คุณสามบั้ง
ระบบ Overflow ในตู้ขนาดใหญ่
http://topicstock.pantip.com/jatujak/topicstock/2006/03/J4184656/J4184656.html Credit คุณปิติ๙๙
ดูวิธีการคำนวณการปริมาณหยดน้ำ Overflow ในหัวข้อการคำนวณค่าต่างๆครับ
7.ระบบสำรองไฟ และอุปกรณ์ที่จำเป็นต้องมีติดบ้าน
ระบบสำรองจำเป็นเสมอครับมีความสำคัญไม่แพ้ระบบหลักเลยทีเดียวในการเลี้ยงปลา การที่เรามีความพร้อมรับมือกับความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นจากเหตุการณ์ไม่คาดฝัน ยิ่งสามารถลดความสูญเสียลงได้ ทั้งยังช่วยชีวิตปลาของท่านหรือแม้แต่ช่วยปลาของพรรคพวกเพื่อนฝูงได้เช่นกัน
-ปั๊มออกซิเจนสำรองไฟ อุปกรณ์นี้เมื่อไฟฟ้าดับ ปั๊มลมอัตโนมัติจะทำงานทันทีโดยใช้ไฟจากแบตตารี่ที่อยู่ในตัวเครื่อง เมื่อไฟฟ้ามาเครื่องจะกลับมาใช้ไฟฟ้าแทน แบตตารี่ในเครื่องปั๊มสำรองไฟก็จะทำการชาจน์ไฟต่อไป
-น้ำยา Aquasafeใช้เมื่อปลามีอาการช๊อคน้ำ ค่าน้ำผิดปกติ โดยเฉพาะผู้เลี้ยงปลาต่างจังหวัดด้วยแล้วควรมีไว้เพื่อแก้ไขรักษาปลาได้ทันท่วงที
-น้ำยาทดสอบความเป็นกรด-ด่าง หรือ pH test เพื่อทดสอบค่าน้ำพื้นฐานของการเลี้ยงปลา
-ถุงใบใหญ่สำหรับย้ายปลา เมื่อจำเป็นต้องเคลื่อนย้าย ในต่างจังหวัดมักหาซื้อค่อนข้างยากหากมีโอกาสควรสำรองเอาไว้
8.หลอดไฟ
ไก่งามเพราะขน คนงามเพราะแต่ง ปลาแดงเพราะหลอด 2 ประโยคแรกนั้นมาจากสุภาษิตที่เราคุ้นหูกันครับ ส่วนประโยคหลังนั้นผมคิดขึ้นมาเอง ต้องยอมรับครับว่าส่วนหนึ่งที่ทำให้เราดูปลาสวยงามอย่างมีสีสรรสวยนั้นมากจากการเลือกหลอดสำหรับปลาครับ และก็เป็นความจริงที่ว่าปลาบางตัวนั้นเลือกหลอดไฟจริงๆ เรามาดูกันครับจะเลือกไฟให้ปลามังกรของเราหลอดไหนกันดี
-ฟิลิปอควาเรล philip aquarelle 10000 K full spectrum o เหมาะสำหรับพืชน้ำและปลาน้ำจืด ให้แสงที่เป็นธรรมชาติ ในปลามังกรทำให้เกล็ดดูมีสีเข้มมากขึ้นเน้นเรื่องความเข้มของเกล็ด มีมิติ
-ซินวาเนีย โกว์ลักซ์ Sylvania Grolux เหมาะสำหรับพืชน้ำและปลาน้ำจืดทั่วไป ให้แสงที่เป็นธรรมชาติ เหมาะสมโดยเฉพาะปลาสีแดงเน้นเกล็ดให้มีสีแดงฉูดฉาดมากยิ่งขึ้น และปลาสายพันธ์สีทองเน้นความเข้มของปลามากขึ้น เหมาะสำหรับช่วยในการพัฒนาการของเกล็ดปลาสีแดง
-ซินวาเนีย อควาสตาร์ Sylvania Aqua Star 10000K full spectrum o เหมาะสำหรับปลาน้ำจืดและน้ำเค็มให้แสงสีขาวอมฟ้า เหมาะสมหรับปลาสีพันธ์สีทอง เช่นทองมาเลย์ ปลาทองอินโด ปลามังกรเขียว ปลามังกรเงิน ทำให้ดูสว่างเงางาม แต่เมื่อใช้กับปลาสีอ่อนหรือเกล็ดมีความเงาน้อยลงแล้ว กลับดูจะทำให้ปลาดูซีดลงกว่าที่ควรจะเป็นย
-โคว่า 12000k KOWA 12000k full spe ctrum ,โคว่า 17000k KOWA 17000k full spectrum เป็นหลอดที่มีอุณหภูมิแสงค่อนข้างสูงในพืชน้ำเหมาะอย่างยิ่งในการสังเคราะห์แสง ในปลาแดงนั้นเชื่อว่าช่วยในการพัฒนาสีของเกล็ดทดแทนแสงของดวงอาทิตย์ร่วมด้วย มักใช้ร่วมกับหลอด RB37 เพื่อเสริมช่วงคลื่นแสงสีแดงและน้ำเงิน นอกจากนี้นั้นยังมีหลอดในอุณ
-โคว่า RB37 KOWA RB37 ให้แสงสีน้ำเงินครับ เมื่อติดตั้งในตู้ปลาเน้นปลาแดงให้มีสีสันที่ฉูฉาดมากขึ้น และพัฒนาเรื่องของสีเกล็ดเมื่อใช้ควบคู่กับหลอด full spectrum เช่น 12000K หรือ 17000K
-Philip daylight 865 อุณหภูมิสี สูง 6500 K o หลอดไฟบ้านราคาถูกครับ ให้แสงสีเหลืองนวล ที่ตามห้างเขาใช้ประเภทตู้โชว์ผักครับ เหมาะสำหรับปลาสายพันธ์สีทอง จะช่วยเน้นเรื่องสีปลาให้มีความเข้มมากขึ้น
-Philip cool white ,warm white ประมาณ 4000 K o หลอดไฟบ้านเช่นกันครับ ให้แสงสีเหลืองนวลแต่น้อยกว่า daylight หรือ warm light เหมาะสำหรับปลาสายพันธ์สีทอง จะช่วยเน้นเรื่องสีปลาให้มีความเข้มมากขึ้น
-Toshiba 3-band Super Daylight 12000 K หลอดไฟบ้านที่ให้อุณหภูมิแสงค่อนข้างสูงเหมาะสมสำหรับปลาแดงเช่นเดียวกันครับ
ข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
http://sylvania.aquanet.de/English/dframset.htm
http://www.lampreplacements.com.au/Specialty%2BLamps/Aquarium/
http://www.thaikowa.com/Lamps/lamp_rb37_t.html
http://topicstock.pantip.com/jatujak/topicstock/J2944322/J2944322.html
แก้ไขบทความครั้งที่1 วันที่ 26 กค 2552