scoops
ตู้ปลา ปั๊มน้ำ อุปกรณ์การเลี้ยง
กระจก กับ ตู้ปลา BY BUTAS
หลายท่าน ที่เลี้ยงปลาอาจสงสัยเรื่องกระจก กับ ความหนาที่ปลอดภัยใช้ทำตู้ปลา โดยเรามาทำความรู้จักกระจกที่นิยมใช้ในการทำตู้ปลา
1. กระจกโฟล์ต (Float Glass) ภาษาช่างเรียก กระจกดิบ เป็นกระจกที่เราใชักันมากที่สุด ง่ายต่อการตัด เจาะ ที่มันเรียกว่า โฟล์ต เพราะขบวนการผลิตหล่อกระจกบนดีบุกเหลว จะสังเกตสันกระจกจะมีสีเขียว
2. กระจกใสพิเศษ หรือ กระจกสนิมเหล็กต่ำ (Low Iron Oxide Glass) เป็นกระจกที่มีส่วนผสมของ Iron Oxide ต่ำมาก จนทำให้เนื้อกระจกใสมาก ดูได้จากขอบจะไม่มีสีเขียวเลย ตู้ปลา หรือไม้น้ำที่มีคุณภาพจะใช้กระจกประเภท
3. กระจกกึ่งนิรภัย หรือ กระจกฮีตสเตร็งเทน ( Heat Strengthened Glass ) เป็นการทำให้กระจกดิบมีค่าความแข็งขึ้นเป็น 2 เท่า โดยการให้ความร้อนแล้วปล่อยทิ้งไว้ค่อย ๆ เย็นตัว ตัวกระจกจะยังคงมีคุณบัติเวลาแตกให้ร้าว ไม่ลาม หลุดเป็นเม็ดข้าวโพด ผมยังไม่เคยเห็นร้านทำตู้ปลาไหนทำ จริง ๆ ก็ทำไม่ยาก แค่ตัดกระจกเสร็จก็ส่งโรงอบ ให้อบให้ เป็นอันเรียบร้อย กระจกนี้เหมาะทำตู้ปลามากที่สุด นอกจากได้ความแข็งแล้ว ถ้าเกิดการแตกจะเกิดเป็นตู้รั่ว ไม่ใช่กระจกระเบิด
4. กระจกนิรภัย หรือ กระจกเทมเปอร์ (Temper Glass) เป็นการทำให้กระจกดิบมีความแข็งมากขึ้น 3-5 เท่า โดยการให้ความร้อน แล้วให้ความเย็นทันที กระจกประเภทนี้ไม่เหมาะทำตู้ปลา เนื่องจากถ้าแตก กระจกจะระเบิดท้งแผ่นเป็นเม็ดข้าวโพด เนื่องจากแรงดันน้ำ
5. กระจกลามิเนต (Laminated Glass) เป็นการเอากระจกตั้งแต่สองแผ่นมายึดติดกันด้วยฟิมล์ PVB (Polyvinyl buytral) หรือ EVA (Ethylene Vinyl Acetate ) โดยจะให้ค่าการยิดเหนี่ยวไม่ให้กระจกที่แตกหลุดออกไป กระจกลามิเนตสามารถสร้างได้จากกระจกต่าง ๆ ข้างต้นมาประกบกัน เช่น กระจกเทมเปอร์ + กระจกโฟล์ต
ดังนั้นถ้าอยากใช้กระจกที่มีความแข็งสูง หรือ กระจกเทมเปอร์ จะต้องเป็นกระจกลามิเนตด้วย สำหรับงานตู้ปลา หรือ บ่อปลา เพราะเวลามันแตกด้านหนึ่งมันจะไม่ลามไปอีกด้าน หรือ ถ้าแตกสองด้าน ก็เกิดการรั่ว แต่ไม่ระเบิดออกทั้งหมด
การนำกระจกมาใช้งาน ต้องคำนึงถึงแรงที่จะกระทำต่อแผ่นกระจก โดยปกติโมดูล หรือสมการการรับแรงของกระจกจะซับซ้อน แต่เรามีวิธีการประมาณได้โดยจากข้อมูลของผู้ผลิตที่ให้
ค่าทีให้ในตารางใช้ในการประมาณความสามารถการรับแรงลมของกระจก ซึ่งเราสามารถมาประยุกต์ใช้กับน้ำได้ โดยเปลี่ยนแรงลมเป็นแรงดันน้ำ
โดยปกติแรงดันน้ำจะค่อยเพิ่มตามความลึก แรงดันเฉลี่ยที่กระทำกระจกจะเป็น 1/2 ของแรงดันน้ำลึกสุด แต่เพื่อความปลอดภัยเราให้แรงดันเฉลี่ยประมาณเท่ากับแรงดันลึกสุดของน้ำ
น้ำหนักที่กระจก = ระดับความลึกของน้ำที่ปลายกระจก(เมตร) x 1000 x พื้นที่ของแผ่นกระจก (ตารางเมตร)
ค่าน้ำหนักกระจกที่ได้ ควรไม่เกินค่าตาราง Allowable Load
ยกตัวจากระทู้ 1240
ถ้าบ่อขนาด กว้าง2ม.ยาว1ม.สูง1ม. จะติดกระจก ขนาด 48"x24" 4หุน กระจกจะรับแรงดันน้ำไหวป่าวครับ ขอบคุณครับ
เป็นบ่อกลางแจ้งครับ ระดับน้ำก็ประมาณ80ซม. ผมกะว่าจะติดกระจกเสมอระดับน้ำอ่ะครับ ขอคุณสำหรับคำชี้แนะครับ
จะเห็นว่าระดับน้ำลึกสุดของกระจกคือ 24 นิ้ว =0.6909 เมตร
ขนาดกระจกที่ใช้ 48 x 24 ตารางนิ้ว = 0.7342 ตารางเมตร
จะได้น้ำหนักที่กระทำต่อกระจก = 0.6909 x 1000 x 0.7342 =453.0547 kg
ฉะนั้นถ้าเลือกกระจก 4 หุน หรือ 12 มิล มันสามารถรับน้ำหนักได้ 1200 Kg นั่นหมายความเลือกกระจกที่ใช้ติดตั้งได้ครับ
สุดท้ายขอขอบคุณ ข้อมูลของกระจกบริษัทอาซาฮี และ บริษัทไอดีลโค๊ท สำหรับภาพประกอบคำอธิบายครับ
ขอขอบคุณทุกท่านที่ติดตามชม หวังว่าเป็นประโยชน์ในการเลือกใช้กระจก และความปลอดภัยของความหนากระจกที่ใช้ประกอบตู้ปลา หรือ บ่อปลา นะครับ
ท่านสามารถแสดงความคิดเห็นได้ที่ http://www.arohouse.com/wbs/?action=view&id=000001330